กระบอกสูบไฮดรอลิก

กระบอกสูบไฮดรอลิกมีกี่ประเภท มีหน้าที่อะไรบ้าง? 

ถึงแม้กระบอกสูบไฮดรอลิกจะเป็นอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในงานอุตสาหกรรม แต่เนื่องด้วยมีความหลากหลายทำให้ใครหลายคนเกิดความสับสนเกี่ยวกับลักษณะการใช้งานและหน้าที่ของกระบอกสูบแต่ละรูปแบบ เราจึงจะพาไปดูว่ากระบอกสูบแบบไฮดรกลิกมีกี่ประเภทและมีหน้าที่อย่างไรบ้าง? รวมถึงปัญหาที่มักพบได้บ่อย 

กระบอกสูบไฮดรอลิกมีกี่ประเภท 

กระบอกสูบไฮดรอลิกยอดนิยมหลัก ๆ ประกอบด้วย  

1. กระบอกสูบทางเดียว  

Single Acting Cylinder กระบอกสูบที่มีทางเข้า – ออกของน้ำมันไฮดรอลิคเพียงแค่รูเดียว ลูกสูบเคลื่อนที่โดยอาศัยแรงดันจากน้ำมันไฮดรอลิกและจะกลับสู่ตำแหน่งเดิมโดยอาศัยแรงบิดของสปริง 

2. กระบอกสูบสองทาง  

Double Acting Cylinder มีทางเข้าออกของน้ำมันไฮดรอลิก 2 ทาง เพื่อใช้ในการเคลื่อนที่สลับไป 

ประเภทของไฮโดรลิกอื่น ๆ  

นอกเหนือจากประเภทยอดนิยมของกระบอกสูบไฮดรอลิกที่กล่าวไปข้างต้นแล้วยังสามารถพบได้อีก 3 ประเภท ได้แก่ 

1. กระบอกสูบแบบแท่ง  

มีข้อดีง่ายต่อการบำรุงรักษา ซ่อมแซม และการประกอบ 

2. กระบอกสูบไฮดรอลิคแบบเชื่อม  

ลักษณะของกระบอกสูบมีการเชื่อมฝาและส่วนท้ายเข้ากับกระบอกสูบโดยตรง มีข้อดีเรื่องโครงสร้างกระทัดรัดและเหมาะกับงานที่ใช้ในการเคลื่อนที่เป็นหลัก แต่ค่อนข้างประกอบและถอดได้ยาก 

3. กระบอกสูบไฮดรอลิกแบบยืดสไลด์  

ภายในกระบอกจะมีท่อหรือ Stage ซ้อนกันหลายชั้นแบบไล่ระดับจนถึงปลายกระบอกแบบยืดหยุ่นได้ เหมาะสำหรับโรงงานหรืออุตสาหกรรมที่มีพื้นที่จำกัด 

ส่วนหน้าที่หลักของกระบอกสูบทุกประเภทเป็นมาตรฐานเดียวกัน คือ เปลี่ยนพลังงานจากแรงดันให้กลายเป็นพลังงานกลเพื่อก่อให้เกิดการเคลื่อนที่ เช่น ลมอัด น้ำ น้ำมันไฮดรอลิก  

ปัญหาที่สามารถพบได้บ่อย 

สำหรับปัญหาที่สามารถพบได้บ่อยกรณีใช้กระบอกสูบไฮดรอลิก มีดังนี้ 

  • กระบอกล็อกตำแหน่งไม่อยู่หากลูกสูบภายในกระบอกเกิดการเสียหายหรือเป็นรอย 
  • ซีลคอกระบอกรั่วซึม หากแกนกระบอกเป็นรอยจากฝุ่นหรือเกิดจากการติดตั้งกระบอกไม่ดีหรือไม่เหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน 
  • กระบอกมีแรงดันชิ้นงานไม่เพียงพอ หากเลือกขนาดของกระบอกสูบเล็กเกินไปหรือไม่เหมาะสมกับงาน  

สรุปได้ว่า กระบอกสูบไฮดรอลิก มีหน้าที่สำคัญในการเปลี่ยนพลังงานแรงดันให้กลายเป็นพลังงานกล โดยอาศัยอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในกระบอกร่วมกับแรงดัน แต่ละประเภทมีความแตกต่างกันตรงที่รูปแบบการเข้าออกของแรงดัน เช่น Single Acting Cylinder แรงดันผ่านเข้าได้ทางเดียว Double Acting Cylinder แรงดันผ่านเข้าได้ทั้ง 2 ทางสลับไปมา แต่ถึงแม้เป็นเช่นนั้นสำหรับหลักการเลือกใช้งานจำเป็นต้องคำนึงถึงสภาพพื้นที่และหลักการออกแบบของประเภทนั้น ๆ ว่าออกแบบมาเพื่องานประเภทไหนไม่ใช่จะเลือกแบบไหนก็ได้ ไม่เช่นนั้นอาจเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาหลายอย่างตามมา เช่น กระบอกมีแรงดันชิ้นงานไม่เพียงพอและอื่น ๆ  

Tags: